วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คุรุทายาท แก้ปัญหาขาดแคลนครู


ท่านคิดอย่างไรกับโครงการคุรุทายาท ?

ในปัจจุบัน(28/10/51)การผลิตนักศึกษาสายครูได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ในทางกับกันภาวะการขากแคลนครูก็นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนในบางโรงเรียนมีครูไม่ครบชั้นเรียน หรือมีครูแก่ๆ ที่ท่านย้ายไปไหนไม่ได้แล้วต้องอยู่สอนที่โรงเรียนสามสี่คนกับเด็กอีกยี่สิบกว่าคนทั้งที่มีบัญชีครูอยู่โรงเรียนนั้นก็หลายท่านอยู่แต่ท่านเหล่านั้นไปช่วยราชการโรงเรียนขนาดใหญ่กว่า ซ้ำร้ายครูที่ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพหรือท่านสอนมานานและเหน็ดเหนื่อยกับการสอนก็ได้ขอลาออกจากราชการก่อนเกษียรเพื่อไปพักผ่อนอยู่บ้านตั้งหมื่นกว่าคน ท่านรองคิดดูสิว่าแล้วจะเอาใครมาสอนหนังสือ ดังนั้นจึงมีความคิดที่จะฟื้นคุรุทายาทขึ้นมาใหม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีการผลิตนักศึกษาสายครูที่ในชื่อโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน(หลักสูตร 5 ปี) จำนวน สองพันกว่าคนที่จะบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยในปีการศึกษา 2552 หรือ ครูสายวิทย์-คณิต เช่น สส.วท. หรือ สค.วค. ก็ยังมีการผลิตอยู่เเต่มีปริญที่น้อย หรือโครงการเพชรในตมที่ให้ทุนกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่กันดาร แต่การผลิตครูในโครงการที่กล่าวข้างต้นก็ยังไม่เพียงพอต่ออัตราของครูที่ขาดอยู่ในขนาดนี้ถึงห้าหมื่นกว่าอัตรา ดังนั้น โครงการคุรุทายาท ซึ่งยังไม่แน้ชัดว่าจะใช้ชื่อโครงการว่าอย่างไรจึงได้นำเข้าสู่ที่ประชำคุรุสภา ดังมีการเปิดเผยจาก ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานกรรมการคุรุสภา ว่า ตนกำลังเตรียมผลักดันเรื่องการผลิตครู โดยเฉพาะการฟื้นโครงการคุรุทายาทขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มปริมาณให้เพียงพอที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับประเทศ ซึ่งโครงการคุรุทายาทที่จะรื้อฟื้นขึ้นใหม่นั้นจะแตกต่างจากรูปแบบเดิม คือ จะมีการให้ทุนแก่นักศึกษาปีละ 5,000 ทุน พร้อมประสานคณะครุศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชี่ยวชาญเทคนิคการสอนด้านวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาฝรั่งเศส ก็จะนำนักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะเรียนด้านดังกล่าวไปเข้าเรียน เป็นต้น และจะรับประกันการมีงานทำด้วย ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อนายศรีเมือง เจริญศิริ รมว.ศึกษาธิการเร็วๆนี้ เพื่อทำเรื่องเสนอของบประมาณ คาดว่าจะใช้งบทั้งสิ้น 500 ล้านบาท
ดร.ดิเรกกล่าวว่า ขณะนี้ตนกำลังให้สำนักงานนโยบายและแผน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดูว่า ในปีการศึกษา 2556 จะมีผู้ที่เกษียณอายุราชการจำนวนเท่าไหร่ ในสาขาวิชา อะไรบ้าง เพื่อที่จะผลิตครูให้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งนี้โครงการคุรุทายาทรูปแบบเดิมไม่รับประกันการมีงานทำ แต่โครงการใหม่รับประกันการมีงานทำให้ด้วย และจะให้นักศึกษาเรียนให้ตรงกับความต้องการ สำหรับครูที่เป็นครูอยู่ในปัจ จุบันคุรุสภาจะมุ่งเน้นในเรื่องมาตรฐานวิชาชีพให้มากขึ้น
ต่อข้อถามการฟื้นโครงการคุรุทายาทจะแก้การขาดครูและได้ครูที่มีคุณภาพจริงหรือไม่ ดร.ดิเรกกล่าวว่า ปริมาณการผลิตครูมีเพียงพอ แต่คุณภาพยังด้อยอยู่ เนื่องจากกระบวนการผลิต ไม่มีวัตถุดิบที่สามารถทำให้ผลผลิตของคณะครุศาสตร์ มีคุณภาพสูงได้ ซึ่งจากตัวเลขของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) แจ้งผลการรับนักเรียนในแต่ละปีช่วงที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต อยู่ในอันดับสุดท้าย แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเด็กที่สอบได้คะแนนมากๆ จะมาเรียนครู ซึ่งทำให้ประเทศเหล่านั้นได้ครูดี ครูเก่งมาเป็นครู.

จากการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ออกมาให้ข่าวซึ่งอีกด้านหนึ่งที่เป็นสายการผลิตครูโดยตรงอย่าง สกอ. ก็กำลังเสนอให้มีการเปิดสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพครูอีกจำนวน 10,000 คนโดยแบ่งเป็น 5 รุ่น รุ่นละ 2,000 ทุน ในปีการศึกษา 2552/53 นี้ แต่ก็ยังไม่แน่ชัดอาจมีการเปลี่ยนเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 2,500 ทุน รวม 5,000 ทุน เพื่อต่อยอดจากโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน(หลักสูตร5 ปี) ที่ได้รับการการันตีจาก สกอ. ว่าผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาเป็นบัณฑิตสายครูที่มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างสูง

ซึ่งกำลังจะบรรจุอยู่นะขนาดนี้ก็เป็นไปได้ ใครที่อยากเป็นนักเรียนทุนก็ต้องติดตามข่าวสารกันให้มากหน่อย แต่ปี 2553 นี้รับประกันได้ว่ามีการเปิดสมัครทุนเล่าเรียนครูผูกพันกับการบรรจุแต่งตั้งแน่นนอน

ชีวิตครูไทย ใกล้ถึงฝั่ง

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดการศึกษาแบบทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่เห็นในปัจจุบันนี้คือการศึกษาแบบ ถึงทั่วและมีเพียงประสิทธิผล คำว่า ทั่วถึง กับ ถึงทั่ว แตกต่างกันตรงไปถึงอย่างเป็นระบบกับถึงพอให้รู้ว่าถึง หรือที่เรียกกันว่า เป็นแบบผิวๆ นั้นแหละ ส่วนคำว่าประสิทธิผลกับประสิทธิภาพ มันต่างกันอยู่ที่ผลที่เกิดขึ้น ประสิทธิผลเกิดจริงแต่มีคุณภาพน้อยมากจนไม่น่าเชื่อว่าครูไทยจะทำงานได้ไม่มีทิศทางเช่นนี้ อีกคำ คือ ประสิทธิภาพ นั้นก็มีความหมายเหมือนประสิทธิผลแต่ต่างกันตรงที่ผลที่ได้นั้นมีคุณภาพสมควรแก่การได้รับการยกย่อง เป็นธรรมดาที่การจัดการศึกษาที่เพิ่งผ่านช่วงปฏิรูปได้ไม่นานอาจยังไม่มีทิศทางที่น่าพึงพอใจ แต่ถ้าจะบอกว่าไม่นานมันก็เป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้วที่มีการปฏิรูปการศึกษามา แล้วตอนไหนถึงจะใช้คำว่านานพอได้ 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี จะว่าไปแล้วมันก็ขึ้นอยู่ที่คนปฏิบัติอย่างคุณครูที่เคารพทั้งหลายนี้แหล่ะครับ
เผอิญว่าบ่นมามากแล้วเดี๋ยวจะลืมแนะนำตัว
ชื่อ ; ภัทรวัฒน์ เสาร์แก้ว ดูรูปกันหน่อยนะเพื่อรู้จัก
กำพืด ; เป็นคนเมืองสาเกตนคร
ตอนเด็กแก่ผ้าอาบนำเป็นประจำ ปัจจุบันก็ยังทำอยู่ถ้าอาบในห้องนำ
นิสัย ดุร้าย น่ากลัว
ความหวัง อยากเรียนให้จบ ดุษฎีบัณฑิต เพื่อจะได้ตั้งหน้าตั้งตามาสอนมหาวิทยาลัยกับเขาบ้าง