วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิจัยทางภาษาไทย การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย

ชื่องานวิจัย การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย นายภัทรวัฒน์ เสาร์แก้ว
ปีที่วิจัย ๒๕๕๐
ที่ปรึกษางานวิจัย นางเนาวรัตน์ สำเร็จศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทยของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ประชากรที่ศึกษา ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ภาคเรียนที่ ๒ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที

(t-test)
สรุปผลการวิจัยดังนี้
๑ ด้านการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑
๓. ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไมตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก
มากที่สุด ปานกลาง และน้อย ตามลำดับ

ความมุ่งหมายของการวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบฝึกทักษะการใช้การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมาหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย

ความสำคัญของการวิจัย
๑. เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
๑.๑ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๑.๒ ทำให้ทราบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา
๑.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน และตระหนักถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อการทำงาน
๒. เกี่ยวข้องกับผู้สอน
๒.๑ ได้พัฒนาสื่อ / นวัตกรรมการสอน คือ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ให้ดี มีคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย และเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
๒.๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการ และความสามารถของผู้เรียน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาทักษะการเขียนของผู้เรียนได้เต็มตามธรรมชาติ และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน

ขอบเขตของการวิจัย
๑. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา จํานวน ๑ ห้องเรียน นักเรียน จํานวน ๑๓ คน
๒. ตัวแปรที่ศึกษา คือ
๒.๑ ตัวแปรต้น ได้แก่ วิธีเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำ
๒.๒ ตัวแปรตาม ได้แก่
๒.๒.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๒.๒.๒ ความพึงพอใจต่อการเรียน
๓. เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่นํามาสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนคำ เรื่อง คําที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนคราชสีมา โดยปรับเนื้อหาจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๔. ระยะเวลาการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลา จำนวน ๕ สัปดาห์ รวม ๓๐ ชั่วโมง
สมมุติฐานการวิจัย
๑. นักเรียนมีทักษะในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓. นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด

วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๑ จํานวน ๑ ห้องเรียน นักเรียน จํานวน ๑๓ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบทดสอบ และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย และความพึงพอใจในการเรียน ตามลำดับ รวบรวมข้อมูล ณ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบสมมติฐาน

สรุปผล
๑ ด้านการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑
๓. ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก มากที่สุด ปานกลาง และน้อย ตามลำดับ

อภิปรายผล
๑. นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้านทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย แสดงว่า แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนในการเขียนสะกดคำได้ กรณีที่นักเรียนส่วนหนึ่งยังไม่คล่องในด้านการเขียนสะกดคำ สามารถบ่งบอกได้ว่า แบบฝึกการเขียนคำนี้ยังไม่เหมาะสมที่สุดกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยสังเกตพบในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และจะได้พัฒนาปรับปรุงสำหรับเฉพาะกลุ่มผู้เรียน
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนพัฒนาขึ้นจากเดิมทุกคน แสดงว่า นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๓. นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทย ในระดับมาก จนถึงมากที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แสดงว่านักเรียนชอบวิธีการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะการใช้ผลการวิจัย
๑. แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทยนี้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้
๒. ควรมีการเสริมแรงประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นในการฝึกฝนตนเอง

ข้อเสนอแนะการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ไม่ได้เน้นทักษะการอ่าน ซึ่งอาจศึกษาเพิ่มเติมไปเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่องของนักเรียน

























การเขียนโครงการส่งเสริมสุขภาพ

เอกสารประกอบการอบรมการเขียนโครงการส่งเสริมสุขภาพ
สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาธรณสุขศาสตร์) ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน 2551
วิทยากร นายภัทรวัฒน์ เสาร์แก้ว เวลาอบรม 6 ชั่วโมง (2-1-3)
...................................................................

ปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน (20 พ.ย.51 )ที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญ
1.ลดการบริโภคสุรา ยาสูบ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
2.ลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย
3.สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และปลอดภัย
4.การผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ
5.สร้างเสริมสุขภาพจิต
6.สุขภาวะทางเพศ เพศสัมพันธ์ปลอดภัย
7.ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพจากโรคที่เป็นภัยเงียบ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
8.ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพจากโรคอุบัติใหม่ เช่น ไข้หวัดนก
ปัญหาที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ
1.ปัญหาสุขภาวะของชุมชนแออัด ผู้สูงวัย ผู้ด้อยโอกาส
2.ปัญหาสุขภาวะทางจิต ของเด็ก เยาวชน ผู้ถูกกระทำชำเรา หญิงถูกข่มขืน
3.การรับประทานอาหารที่ไม่ครบหมู่ สภาวะเสี่ยงต่อการพร่องทางโภชนาการ โรคอ้วน
4. ...................................................................................................................................
5. ...................................................................................................................................
ทำไมถึงต้องทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ถ้าจะทำโครงการจะทำเกี่ยวกับประเด็นปัญหาใด
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
จะทำอะไรบ้าง
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

จะทำเพื่อใคร/ใครได้รับผลกระทบจากการทำโครงการของเรา และเกี่ยวข้องกับใคร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ทำอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ใช้เวลานานแค่ไหน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สำเร็จหรือไม่ดูจากอะไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สรุปผลอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ก่อนจะเขียนโครงการ มารู้จักกับคำเหล่านี้ก่อน
Plan - Input -Output -Outcome -Process - Feedback

โครงการทำขึ้นเพื่ออะไร
1.ทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบประสพพบเห็นหรืออยากแก้เองจากภายในจิตใจ
2.ทำขึ้นเพื่อพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม

ส่วนประกอบของโครงการ
1.ชื่อโครงการ(Project)
เขียนให้ตรงประเด็นที่ต้องการทำไม่กว้างจนเกินไป เมื่ออ่านชื่อโครงการแล้วต้องตอบได้ว่าจะทำโครงการเกี่ยวกับอะไร
เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพการออกกำลังกายในชราภาพ (ไม่ดี)
โครงการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพทางร่างกายให้แข็งแรง (ดีขึ้น)
2.หลักการและเหตุผล(Rational)
ระบุปัญหาและ วิเคราะห์สถานการณ์ ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาเฉพาะพื้นที่ โดยแสดงหลักฐานข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขสำหรับกลุ่มเป้าหมาย และในพื้นที่นั้นๆ แหล่งข้อมูล จะเป็นข้อมูลที่ชุมชนรวบรวม หรือ หน่วยงานในชุมชนรวบรวมก็ได้ แต่ต้องเชื่อถือได้ และอธิบายได้ชัดเจนว่า โครงการเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างไร มุ่งเน้นที่แก้ปัญหาประเด็นสุขภาพเรื่องใด และต้องสอดคล้องกับชื่อโครงการ

3.วัตถุประสงค์/ความมุ่งหมายของโครงการ/จุดมุ่งหมายของโครงการ(Objective)
ระบุวัตถุประสงค์ของโครงการที่แสดงให้เห็นว่า โครงการจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านการสร้างเสริมสุขภาพต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ซึ่งวัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้ แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของโครงการไม่ควรเกิน 3 ข้อ พร้อมระบุตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วัดได้ในระยะเวลาโครงการโดยไม่ยาก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างวัตถุประสงค์
(............) เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ฟื้นฟูจิตใจ พัฒนาทักษะวิชาชีพ และการศึกษานอกระบบ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพสุจริตและกลับคืนสู่สังคม
(...........)เพื่อจัดค่ายพัฒนาศักยภาพให้เต็มความสามารถในโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 17คน จากนักศึกษาในเครือข่ายสืบสานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเข้าร่วม 14 คน และคณะครูโรงเรียนโสตศึกษาร้อยเอ็ด
(..............)เพื่อฝึกทักษะทางร่างกาย การพูด การคิด การตัดสินใจ และการเรียนรู้ ตามความจำเป็นของนักเรียนแต่ละคน
(..............)เพื่อป้องกันปัญหาการค้าประเวณี โดยให้มีการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาทักษะวิชาชีพ แก่สตรีที่ขาดโอกาส และประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภทรวมทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ
(..............)เพื่อจัดการฝึกทักษะการดำรงชีวิตในการดูแลตนเอง และการวางตัวในสังคมของเด็ก ดังนี้ทักษะการรักษาความสะอาดของร่างกาย ทักษะการรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย ทักษะการรักษาความสะอาดเสื้อผ้า ทักษะในการแต่งกายในชุดแบบต่างๆ และทักษะทางสังคม
(................)เพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์ในชุมชน
(................)เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูจิตใจแก่เด็กและสตรีที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ และเตรียมความพร้อมก่อนส่งกลับบ้าน
(.................)เพื่อเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียน นักศึกษา จากปราชญ์ชาวบ้านเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของพืช พืชและเห็ดมีพิษ และพืชที่สามารถใช้เป็นอาหาร
(.................)อบรมเยาวชนจำนวน 60 คน เพื่อเป็นเยาวชนในท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก้ไขภาวะโลกร้อน และกระจายแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนต่อไป
(..................).เพื่อแนะนำชาวบ้านในการแยกหมวดหมู่ขยะ การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ การบริหารขยะในท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบต่อพืชพันธุ์ สัตว์ป่า 2 ครั้ง
(....................)จัดรณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสิ่งเสพติด 1 ครั้ง
(.....................)เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ฝึกกระบวนการ การคิดอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในแก้ไขปัญหา และการคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาหาแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อไป
(...ดี....) ให้เด็กนักเรียนร้อยละ 70 รับประทานอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
(ตัวชี้วัดผลลัพธ์ คือ จำนวนนักเรียนร้อยละ 70 ได้รับประทานอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ)

4.เป้าหมาย (Goal) เป้าหมายเฉพาะหรือเป้าประสงค์ (Target)
4.1. เชิงปริมาณ
ระบุวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายหากมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มควรระบุกลุ่มเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง และระบุจำนวนโดยประมาณของกลุ่มเป้าหมาย แบ่งตามกลุ่มอายุ ตามตาราง


4.2 .เชิงคุณภาพ
เขียนบรรยายด้วยความเรียงเป็นข้อๆ บอกถึงเกณฑ์คุณภาพที่จะเกิดขึ้น
เช่น นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ได้ความเข้าใจ ได้ความรู้ (ไม่ดี)
เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา
นักเรียนที่เข้ร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจ และสนุกสนานใน (ดีขึ้น)
การเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา
5.วิธีการดำเนินการ(Procdure)
บอกกระบวนการทำงานทั้งหมดอย่างละเอียด หากแผนงานทำไม่ละเอียดพอจะนำไปสู่การปฏิบัติได้อยากหรืออาจปฏิบัติไม่ได้เลย
5.1 ระบุ กลวิธี และ กิจกรรม ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดที่กำหนด แสดงรายละเอียดกิจกรรมที่ชัดเจน กำหนดระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมที่สมเหตุสมผล
ในการออกแบบกิจกรรม ขอให้คำนึงถึง
§ การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล
§ กลวิธี และ กิจกรรม ที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังได้
§ กลวิธี และ กิจกรรม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา ประหยัดงบประมาณ และ บริหารจัดการได้
§ กลวิธี และ กิจกรรมต่างๆ ของโครงการต้องเชื่อมโยง และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ
5.2 จัดทำแผนปฏิบัติการในแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นช่วงระยะเวลา ที่จะช่วยให้สามารถวางแผนดำเนินงานได้ (Gantt Chart)

6.ระยะเวลาในการดำเนินการ(งาน) (Duration)
7.สถานที่ดำเนินการ(Place)
8.งบประมาณที่ใช้(Budgeting)
ระบุงบประมาณตามหมวดของการใช้เป็นหน่วย เช่น
ลูกบอล 2 ลูก ลูกละ 240 บาท เป็นเงิน 480 บาท
กระดาษ A 4 4 รีม รีมละ 115 บาท เป็นเงิน 570 บาท
แต่ในกรณีที่เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบรายการแน่นนอน ควรระบุว่า ค่าใช้สอย,ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
ไม่ควรระบุว่า งบสำรองจ่าย หรือ งบเพื่อการจ่ายนอกเหนือจากงบในรายการ และไม่ควรระบุแยกย่อยจนเกินไปเพราะไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในการซื้อได้ ที่สำคัญการใช้งบประมาณต้องได้ทั้งประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลด้วย
9.ผู้รับผิดชอบโครงการ(Project Manager)
10.การประเมินผล
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เขียนสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น เมื่อปฏิบัติโครงเสร็จสิ้น เป็นเหมือนการคาดคะเนผลการทำงานตามโครงการที่เราจัดทำขึ้น