วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิจัยทางภาษาไทย การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย

ชื่องานวิจัย การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย นายภัทรวัฒน์ เสาร์แก้ว
ปีที่วิจัย ๒๕๕๐
ที่ปรึกษางานวิจัย นางเนาวรัตน์ สำเร็จศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทยของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ประชากรที่ศึกษา ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ภาคเรียนที่ ๒ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที

(t-test)
สรุปผลการวิจัยดังนี้
๑ ด้านการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑
๓. ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไมตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก
มากที่สุด ปานกลาง และน้อย ตามลำดับ

ความมุ่งหมายของการวิจัย
๑. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบฝึกทักษะการใช้การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมาหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย

ความสำคัญของการวิจัย
๑. เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
๑.๑ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๑.๒ ทำให้ทราบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา
๑.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน และตระหนักถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อการทำงาน
๒. เกี่ยวข้องกับผู้สอน
๒.๑ ได้พัฒนาสื่อ / นวัตกรรมการสอน คือ แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ให้ดี มีคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย และเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
๒.๒ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการ และความสามารถของผู้เรียน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาทักษะการเขียนของผู้เรียนได้เต็มตามธรรมชาติ และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน

ขอบเขตของการวิจัย
๑. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา จํานวน ๑ ห้องเรียน นักเรียน จํานวน ๑๓ คน
๒. ตัวแปรที่ศึกษา คือ
๒.๑ ตัวแปรต้น ได้แก่ วิธีเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำ
๒.๒ ตัวแปรตาม ได้แก่
๒.๒.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๒.๒.๒ ความพึงพอใจต่อการเรียน
๓. เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่นํามาสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนคำ เรื่อง คําที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนคราชสีมา โดยปรับเนื้อหาจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๔. ระยะเวลาการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลา จำนวน ๕ สัปดาห์ รวม ๓๐ ชั่วโมง
สมมุติฐานการวิจัย
๑. นักเรียนมีทักษะในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓. นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนภาษาไทยอยู่ในระดับมากที่สุด

วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านระกาย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๑ จํานวน ๑ ห้องเรียน นักเรียน จํานวน ๑๓ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบทดสอบ และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย และความพึงพอใจในการเรียน ตามลำดับ รวบรวมข้อมูล ณ โรงเรียนบ้านระกาย จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบสมมติฐาน

สรุปผล
๑ ด้านการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๒. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .๐๑
๓. ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก มากที่สุด ปานกลาง และน้อย ตามลำดับ

อภิปรายผล
๑. นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้านทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย แสดงว่า แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนในการเขียนสะกดคำได้ กรณีที่นักเรียนส่วนหนึ่งยังไม่คล่องในด้านการเขียนสะกดคำ สามารถบ่งบอกได้ว่า แบบฝึกการเขียนคำนี้ยังไม่เหมาะสมที่สุดกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยสังเกตพบในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และจะได้พัฒนาปรับปรุงสำหรับเฉพาะกลุ่มผู้เรียน
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ของนักเรียนพัฒนาขึ้นจากเดิมทุกคน แสดงว่า นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย
๓. นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทย ในระดับมาก จนถึงมากที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน แสดงว่านักเรียนชอบวิธีการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะการใช้ผลการวิจัย
๑. แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทยนี้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้
๒. ควรมีการเสริมแรงประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นในการฝึกฝนตนเอง

ข้อเสนอแนะการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะการพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดไทย ไม่ได้เน้นทักษะการอ่าน ซึ่งอาจศึกษาเพิ่มเติมไปเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่องของนักเรียน

























ไม่มีความคิดเห็น: